บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาของโครงงาน
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ถือเอาการไหว้เป็นการแสดงความเคารพต่อกันและกัน ในปัจจุบันการไหว้เปรียบเสมือนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทย นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมการไหว้ที่สวยงามแล้วยังมีรอยยิ้มที่สดใสและจริงไจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นที่ประทับใจและน่าจดจำต่อผู้ที่ได้ประสบพบเห็น
ในปัจจุบันสภาพสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไป เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดกว้างทางวัฒนธรรม จึงได้มีการรับนำเอาวัฒนธรรมของนานาอารยประเทศเข้ามามากเกินไป จนทำให้คนไทยอาจหลงลืมวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศตนเองไป และเพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ต่อไป เราในฐานะประชาชนชาวไทยจึงควรมีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมที่มีคุณค่าเหล่านี้ไว้
ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการไหว้ซึ่งนับวันจะยิ่งเลือนหายไปจากสังคมไทย จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะจัดทำโครงงานนี้ ซึ่งโครงงานนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจนักเรียนในโรงเรียนตราษตระการคุณเพื่อดูว่าพฤติกรรมการแสดงความเคารพของนักเรียนที่มีต่อคุณครูมีมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อนำผลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์ แปรผลข้อมูล เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขสืบต่อไป
จุดประสงค์
1. เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการไหว้ของนักเรียนที่ปฏิบัติต่อคุณครู
2. หาปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงความเคารพระหว่างนักเรียนที่มีต่อคุณครู
3. เพื่อนำผลที่สำรวจได้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข
สมมติฐาน
การทำสถิติเพื่อหาปัจจัยหลักที่ส่งผลให้นักเรียน ไม่แสดงความเคารพต่อคุณครูและช่วยส่งผลให้นักเรียนแสดงความเคารพต่อคุณครูเพิ่มมากขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้น
1. นักเรียน หมายถึง นักเรียนในโรงเรียนตราษตระการคุณเท่านั้น
2. คุณครู หมายถึง คุณครูในโรงเรียนตราษตระการคุณเท่านั้น
3. สถิติ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลการไหว้ของนักเรียนโรงเรียนตราษตระการคุณเท่านั้น
4. การเก็บสถิติ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการไหว้ของนักเรียนโรงเรียนตราษตระการคุณ
วิธีการทำโครงงาน
เนื่องจากพฤติกรรมการแสดงความเคารพของนักเรียนโรงเรียนตราษตระการคุณมีไม่มากเท่าที่ควร คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำข้อมูลให้อยู่ในรูปของสถิติ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปศึกษาและปฏิบัติ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาวิธีการจัดทำสถิติ
2. สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการไหว้ของนักเรียนต่อคุณครู
3. นำข้อมูลที่สำรวจมาจัดทำอยู่ในรูปสถิติ
4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการเลือกรูปแบบการจัดทำ
5. ออกแบบการนำเสนอในรูปแบบต่างๆของสถิติ
6. จัดทำรูปเล่มและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการไหว้
2. ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีมารยาทที่ดีขึ้น รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตน
3. ช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยให้คงสืบต่อไป
4. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างคุณครูและนักเรียนให้มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในทางที่ดีขึ้น
บทที่ 4 กราฟ
ตารางกราฟแสดงความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1


สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการทดลอง
ตารางแสดงค่าเฉลี่ยของแต่ละสาเหตุที่แต่ละกลุ่มประชากรเห็นด้วย

จากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง
ม.1/1 มีการแสดงความคิดเห็นว่าวัฒนธรรมจากต่างชาติมีผลทำให้เด็กไม่ไหว้ผู้ใหญ่มากที่สุด และคิดว่าการคิดว่าการไหว้ไม่ใช่สิ่งจำเป็นมีผลทำให้เด็กไม่ไหว้ผู้ใหญ่น้อยที่สุด
ม.4/1 มีการแสดงความคิดเห็นว่าความรู้สึกมีผลทำให้เด็กไทยไม่ไหว้ผู้ใหญ่มากที่สุด และคิดว่าวัฒนธรรมจากต่างชาติมีผลทำให้เด็กไม่ไหว้ผู้ใหญ่น้อยที่สุด
ม.5/1 มีการแสดงความคิดเห็นว่าความรู้สึกมีผลทำให้เด็กไทยไม่ไหว้ผู้ใหญ่มากที่สุด และคิดว่าการคิดว่าการไหว้ไม่ใช่สิ่งจำเป็นมีผลทำให้เด็กไทยไม่ไหว้ผู้ใหญ่น้อยที่สุด
เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากกลุ่มตัวอย่าง มีการแสดงความคิดเห็นว่าความรู้สึกมีผลทำให้เด็กไม่ไหว้ผู้ใหญ่มากที่สุด และการคิดว่าการไหว้ไม่ใช่สิ่งจำเป็นมีผลทำให้เด็กไม่ไหว้ผู้ใหญ่น้อยที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ในการจัดทำข้อมูล ควรจัดทำหรือเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีวงกว้างหรือมากกว่านี้ เพื่อความเป็นมาตรฐานของข้อมูล
2. ควรตั้งคำถามที่เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างแสดงทัศนคติ
3. ควรเพิ่มหัวข้อบทความสำรวจเพื่อความหลากหลายทางความคิด
ปัญหาและอุปสรรค
1. มีความล่าช้าในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
2. ในครั้งแรกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบสถิติได้
3. ในการหาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องมีความยากลำบาก จัดหาแล้วไม่สอดคล้องกับรูปแบบสถิติที่จะจัดทำ
<<-------หน้าแรก-------->>
|