จุดประสงค์
    • เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบร่างกาย เวลาที่เราแสดงอาการยิ้ม

     

                กลไกของกล้ามของกล้ามเนื้อขณะยิ้ม

                รอยยิ้ม เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ 2 มัดใหญ่ คือ ไซโกเมติก เมเจอร์ ( Zygomatic major) ที่จะช่วยดึงมุมปากให้ยกขึ้นไปหาโหนกแก้ม และออร์บิคิวลาริส ออคิวไล (Orbicularis Oculi ) ที่จะช่วยดึงเนื้อแก้มและเบ้าตาให้ยกขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการยิ้มกับการแสดงสีหน้าแบบอื่น เช่น โกรธ เศร้า เคร่งขรึม วิตกกังวล ฯลฯ แล้ว จะพบว่าการยิ้มใช้กล้ามเนื้อใบหน้าน้อยกว่าการแสดงสีหน้าแบบอื่นมาก การยิ้มจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า และทำให้ใบหน้าดูดีกว่าการแสดงสีหน้าแบบอื่นๆ ด้วย

                ไซโกเมติก เมเจอร์ ( Zygomatic major) เป็นกล้ามเนื้อของมนุษย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางใบหน้า ซึ่งจะทำให้ปากเด่นเหมือนกับการวาดเหมือนกับกล้ามเนื้อทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้า โดยไซโกเมติก เมเจอร์จะทำงานร่วมกับเส้นประสาทเส้นที่ 7 (facial nerve) โซโกเมติกมเจอร์แต่ละส่วนจะขยายออกมาจากกระดูกแก้มจนถึงมุมปาก หน้าที่สำคัญของมันคือการยกมุมปากเพื่อทำให้เกิดรอยยิ้ม


                                                      

    กล้ามเนื้อ Zygomatic major (บริเวณสีแดง)

               

                  ออร์บิคิวลาริส ออคิวไล (Orbicularis Oculi ) คือกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนที่อยู่รอบดวงตา ซึ่งถูกดึงและยึดไว้ด้วยจมูก,กระดูกหน้าผาก โดยกระบวนการของขากรรไกรบน,ผิวด้านล่างและเส้นใยภายใต้ผิว กล้ามเนื้อนี้เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ (อยู่ในระบบประสาทอัตโนวัติ) จะทำงานเมื่อมีฮอร์โมนมากระตุ้นเท่านั้น

     

     

    กล้ามเนื้อ   Orbicularis Oculi  (บริเวณสีแดง )

     

     

     

     

     

    กล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาคือ Orbicularis Oculi

     

                การทำงานของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนขณะยิ้ม

    เมื่อร่างกายมีความสุขและแสองอาการยิ้มออกมา ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนเดอร์ฟิน(Endorphine) มีผลให้อัตตราการเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตต่ำลง ทำให้ร่างกายคลายเครียด และยังเป็นผลให้ฮอร์โมนอะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไตถูกหลั่งในปริมาณลดลงด้วย

          ฮอร์โมน Endorphine
             เอ็นโดรฟิน เป็นสารประกอบชีวะเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ เป็นโปรตีนโพลีเปปไทด์ผลิตจากต่อมพิทูอิทารี่ และจากไฮโพทาลามัสในกระดูกสันหลัง การทำงานของมันคล้ายฝิ่น เพราะมันจะทำให้เกิดอาการชา เราอาจจะเรียกเอ็นโดรฟินนี้ว่าเป็นยาแก้ปวดจากธรรมชาติก็ได้
    เอ็นโดรฟิน มีความหมายในทางเภสัชวิทยา (analogous to the activity of the corticosteroid category of biochemicals) เพื่อยับยั้งปฏิกิริยาเคมีบางชนิด เอ็นโดรฟิน มาจาก คำว่า endo และ orphin ซึ่งเป็นคำย่อของ endogenous morphine หมายถึง สารคล้ายมอร์ฟีนที่เกิดขึ้นภายในเซลล์
    คำว่าเอ็นโดรฟิน ได้ถูกนำไปใช้ในการพูด สื่อความหมายถึง ความรู้สึกเบิกบานใจที่เป็นผลมาจากความเจ็บปวด อันตราย หรือความเครียด แต่ความในทางนี้ไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย และไม่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์ทางการแพทย์
    ประวัติความเป็นมา
              สารประกอบโปรตีนที่มีผลทางระบบประสาทนี้ถูกค้นพบในปีคริสตศักราช 1975 โดยนักวิจัยอิสระสองกลุ่ม
                John Hughes และ Hans Kisterlitz ชาวสก็อตแลนด์ โดยสกัดสารจากสมองของหมู เรียกสารที่ได้นั้นว่า enkephalin ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่ Rabi Simantov และ Solomon ชาวอเมริกาพบสารจากสมองของลูกวัว โดยเรียกมันว่า เอ็นโดรฟิน โดยมาจากคำย่อของ Endogenous morphine แต่การศึกษาต่อมาในภายหลังได้บอกให้เราทรายว่า เนื้อเยื่อของมนุษย์และสัตว์ที่แตกต่างกัน สามารถผลิตสารกระตุ้นที่คล้ายมอร์ฟีนที่ไม่ใช่สารประกอบโปรตีนได้เอง
         การทำงาน
    นักวิทยาศาสตร์ได้อภิปรายกันว่าเอ็นโดรฟินที่หลั่งออกมาในแต่ละกิจกรรมนั้นมีระดับที่วัดได้หรือไม่ ข้อมูลที่ศึกษาได้ส่วนมามาจากการทดลองกับสัตว์ ซึ่งผลที่ได้อาจจะไม่เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ การศึกษากับมนุษย์ส่วนมากจะวัดจากสารเอ็นโดรฟินในน้ำเลือด ซึ่งก็อาจจะไม่สามารถบอกถึงระดับของสารในร่างกายส่วนอื่นๆได้

     

    ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)

     

    pituitary_brain2a.jpg

     

               ต่อมใต้สมองอยู่ใต้สมองส่วนที่เรียกว่า Diencephalon โตเท่าขนาดเมล็ดถั่วสีเทาแดง เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญสุด แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

      • ต่อมใต้สมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ Hypotalamus สร้างฮอร์โมนประเภทโปรตีนหรือโพลีเปบไทด์
      • ต่อมใต้สมองส่วนกลาง มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone (MSH) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัด
      • ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อประสาทจาก Hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ Oxytocin และ Vasopressin or Antidiuretic Hormone (ADH)

       

      ฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline)
           โครงสร้างของอะดรีนาลีน คือ C9H13NO3  ถูกค้นพบโดย William Bates ในเดือน
      พฤษภาคม ปี 1886

      โครงสร้างของ Adrenaline

                    adrenaline  เป็นสารแห่งความโกรธ   ดุเดือด   มีพลัง พร้อมสำหรับการต่อสู้ ป้องกันตัว
      endorphine  ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข   อะดรีนาลีน เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อ ระบบการหายใจ หัวใจทำงานอย่างหนักและรวดเร็วเพื่อต่อสู้หรือถอยหนี อะดรีนาลีนจะไปกระตุ้นให้กลไกของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ฮอร์โมนนี้จะถูกระต้นให้หลั่งออกมาเมื่อร่างกายเกิดอารมณ์เครียด เช่น โกรธ    ตื่นเต้น เป็นต้น   เซลล์ที่พบหลักๆ คือเซลล์ในระบบประสาทครับ ซึ่งตัว Epinephrine จะถูกหลั่งเมื่อถูกระตุ้นด้วยระบบประสาท Sympathetic (Sympatetic Nervous System)   ผลของ Epinephrine ในระบบร่างกายคือเพิ่มการเต้นหัวใจและแรงดันเลือด ขยายหลอดลม และเพิ่มระดับน้ำตาล ทำให้เราสามารถทำงานอะไรได้อย่างที่ทำไม่ได้ตอนปรกติ
      สรุปคือว่าไม่ได้ทำให้ตื่นเต้น แต่การตื่นเต้นทำให้เกิดการหลั่ง   และแค่หลั่งเพิ่ม ไม่ได้สร้างใหม่ ฮอร์โมนพวกนี้อยู่ในกลุ่มที่กดการทำงานของสมอง สารกลุ่มนี้จะทำหน้าที่

      1. ยับยั้งการส่งข้อมูลของแต่ละเซลล์สมอง
      2. ยับยั้งการเจริญเติบโตของสมองและใยประสาท
      3. ยับยั้งเส้นทางความจำทุกๆส่วน ทำให้คิดอะไรไม่ออก
      4. กระตุ้นให้หัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด และร่างกายทำงานผิดปกติ

       และถ้ามีมากเกินไป จะมีอันตรายต่อทั้งอารมณ์และร่างกาย รวมทั้งทำลายองค์ประกอบภายในของสมองอีกด้วย

       

       

      ต่อมหมวกไต (Adrenal  gland  )

      ภาพแสดง ต่อมหมวกไต


                          ต่อมอะดินัล หรือ ต่อมหมวกไต (adrenal gland,suprarenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ(endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน จะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด
      ต่อมนี้อยู่เหนือไต โดยครอบอยู่ที่ขั้วของไตข้างละต่อม ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
      1. ส่วนชั้นนอกของต่อมหมวกไต (Cortex) ผลิตฮอร์โมน คอร์ติโซน (Cortisone) สำหรับต้านทานโรคมีอิทธิพลต่อการเผาผลาญแป้งและโปรตีน รักษาความสมดุลของสารโซเดียม และโพแทสเซียมในเม็ดเลือด ควบคุมอาการอักเสบ ลดอาการแพ้ ควบคุมความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนจะเกิดอาการอ่อนเพลีย
      2. ส่วนชั้นในของต่อมหมวกไต (Medulla) ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenalin) ซึ่งจะขับออกมามากเมื่อเกิดอารมณ์โกรธ ตกใจ กลัว ทำให้มีพละกำลังมากกว่าเวลาปกติ เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น แรงดันของโลหิตเพิ่มขึ้น ถ้าขาดอะดรีนาลีน จะทำให้เป็นคนอ่อนแอทั้งกายและจิตใจ

       

      กลไกที่เกิดขึ้นในร่างกาย  เมื่อแสดงอาการยิ้ม

       

      <<-------หน้าแรก-------->>